วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของหญ้าแฝก


1. หญ้าแฝกมีการแตกกอจำนวนมาก เบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น และแข็งแรงกอตั้งตรง สามารถปลูกติดต่อกันให้เป็นแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งได้ง่าย เปรียบเสมือนกำแพงต้านทานตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามาให้ตกทับถมด้าน หน้าแถวหญ้าแฝก และชะลอความเร็วของน้ำทำให้น้ำเอ่อและไหลซึมลงไปใต้ดิน
2. ลำต้นเหนือดินซึ่งมีข้อถี่และข้อที่เกิดจากการย่างปล้อง เมื่อหญ้าแฝกมีอายุใกล้ออกดอกจะแตกหน่อและรากใหม่ออกมาเสมอเมื่อตะกอนดินทับ ถมจึงสามารถตั้งกอใหม่ได้ 3. กอหญ้าแฝกสามารถตัดต้นและใบ ให้แตกหน่อใหม่เขียวสดอยู่เสมอ ต้นและใบใช้เป็นวัสดุคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืชให้ แก่ดินเมื่อย่อยสลายแล้ว เช่นเดียวกับปุ๋ยหมัก หากหญ้าแฝกแก่ต้นและใบจะแห้ง เมื่อถูกไฟเผาจะแตกหน่อใหม่เขียวสดขึ้นมาทันทีไม่จำเป็นต้องปลูกใหม่ ผลพลอยได้จากหญ้าแฝกดอน สามารถตัดใบไปกรองเป็นตับแฝกซื้อขายทำหลังคาได้ หญ้าแฝกหอมใบอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงวัวเลี้ยงควายได้ ซึ่งจะต้องตัดในช่วงอายุ 2 ถึง 4 สัปดาห์ หลังจากตัดครั้งก่อนเช่น หญ้าแฝกกลุ่มพันธุ์กำแพงเพชร 2 นอกจากนี้พันธุ์หญ้าแฝกหอมจากอินเดียใช้เลี้ยงปลาจีนได้ ใบหญ้าแฝกหอมเมื่อตากแห้งดีแล้วนำไปทำพวงหรีดหรือดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องถักจักสาน เช่น หมวก ตะกร้า เป็นต้น
4. รากหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีรากที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเส้นโตหยั่งลึกลงไปในดิน และแตกแขนงเป็นรากฝอยประสานกันแน่นเหมือนตาข่ายหรือร่างแห เกาะยึดดินให้มีความแข็งแรงมั่นคง การปลูกหญ้าแฝกติดต่อกันระบบรากจะเป็นเสมือนม่านใต้ดินชะลอการไหลซึมของน้ำ ใต้ดินทำให้ความชื้นในดินเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการกัดเซาะของน้ำที่ทำให้เกิดร่องขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นจากด้านล่างของแนวลาดชันย้อนขึ้นมาด้านบน เมื่อถึงแนวหญ้าแฝกก็จะหยุดเพียงแค่นั้น ซึ่งกรณีดังกล่าว คันดินไม่สามารถจะหยุดยั้งได้ รากหญ้าแฝกยังสามารถดูดซึมสารเคมี แร่ธาตุอาหารพืชที่ถูกชะล้างลงไปในดิน เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชเก็บไว้ในต้นหญ้าแฝก เป็นการป้องกันไม่ให้สารเคมีเหล่านั้นไหลลงไปยังแหล่งน้ำ และปลอดภัยจากการเกิดมลภาวะของน้ำทำให้น้ำมีคุณภาพ
การนำระบบหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรตามลักษณะการใช้ที่ดินอาจจำแนกออกได้ดังนี้ คือ
1. พื้นที่นา ควรใช้หญ้าแฝกปลูกเพื่อแสดงขอบเขตล้อมรอบพื้นที่นาบริเวณขอบคันนา ตัดใบหญ้าแฝกคลุมดินที่ปลูกพืชผักหรือพืชไร่ในนาข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในนาข้าว และสงวนความชื้นในดินให้กับพืชที่ปลูกหลังนาในฤดูแล้งได้นอกจากจะเป็นการ ประหยัดการใช้น้ำที่ไม่ต้องทำนาปรังแล้ว ยังนับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 2. พื้นทีไร่ ควรใช้หญ้าแฝกปลูกเป็นแถวในพื้นที่ปลูกพืชไร่ในพื้นที่ราบ โดยปลูกเป็นแถวสลับกับแถบปลูกพืชไร่ จะช่วยเก็บกักน้ำฝนให้ซาบซึมไปตามแผงรากของหญ้าแฝกที่เจริญเติบโตชอนไชผ่าน ลงไปในดินชั้นล่าง ช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดี ทำให้ดินโปร่งและมีการถ่ายเทอากาศดีขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถตัดใบหญ้าแฝกคลุมดินระหว่างแถวพืชไร่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับ ดินและพืชที่ปลูกได้อีกด้วย นับว่าเป็นวิธีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินและทำให้มีการหมุนเวียนของ ธาตุอาหารพืชจากดินชั้นล่างขึ้นมาสู่ดินชั้นบน ไปพร้อม ๆ กัน
3. พื้นที่ปลูกผัก ไม้ดอก และไม้ประดับ ควรใช้หญ้าแฝกปลูกรอบพื้นที่ยกร่องหรือรอบแปลงเพาะปลูกพืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ เพื่อตัดใบหญ้าแฝกนำไปคลุมดินทดแทนการใช้ฟางข้าวซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมและนับ วันจะหาฟางข้าวได้ยากขึ้น นอกจากเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายฟางข้าวจากในนาแล้ว ยังช่วยป้องกันการพังทลายของร่องปลูกพืชได้อย่างดีอีกด้วย ข้อได้เปรียบอีกอย่างคือเป็นวัสดุคลุมดินที่สามารถสร้างขึ้นมาได้เองใน พื้นที่โดยไม่ต้องขนย้ายมาจากที่อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น